รวยหุ้นไม่ง้อเซียน สอนเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่
เรื่องที่ 1 Mindset ในการลงทุน
วิธีคิดที่จะทำให้คุณเป็นหนึ่งใน 10% ของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ประสบความสำเร็จ
เรื่องที่ 2 Fundamental
การวิเคราะห์มูลค่าของหุ้น เบื้องต้น โดยอ่านงบการเงิน และใช้ Fundamental Analysis (P/E, P/BV, Dividend Yield, ROE, ROA, Net Profit Margin, Business Strategy)
เรื่องที่ 3 Technical Analysis
การวิเคราะห์ การขึ้นลง และจังหวะของการลงทุนเบื้องต้น โดยใช้ Technical Analysis (Chart Analysis ในเบื้องต้นเช่น Candlesticks, Line Chart, MACD, RSI, Volume)
ใครที่อยากจะเข้าสู่ตลาดหุ้นอย่างประสบความสำเร็จ ห้ามพลาดเด็ดขาด
เล่นหุ้นเริ่มต้นอย่างไร ใครกำลังเป็นมือใหม่หัดเล่นหุ้น ก่อนลงสนามจริงต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อนเลย
รู้จักสักนิด หุ้น คืออะไร
หุ้น (Stock) ก็คือตราสารทุนที่บริษัทนั้นออกและเสนอขายให้ประชาชนทั่วไป เพื่อระดมทุนนำเงินที่ได้ไปลงทุนในกิจการของบริษัทนั้น ทั้งนี้ เมื่อเราลงทุนไปในหุ้นของบริษัทใด เราจะมีฐานะเป็น "เจ้าของกิจการ" ของบริษัทนั้น ถ้าบริษัทดำเนินไปได้ดี เราก็จะได้กำไร แต่ถ้าบริษัทมีปัญหา เราก็ประสบปัญหาขาดทุนได้ นี่ก็คือความเสี่ยงที่ได้จากการลงทุนในหุ้น ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ แต่ก็เป็นทางเลือกที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน
ไม่ว่าคุณอยากจะเล่นหุ้นเพื่อเก็งกำไร หรือลงทุนในหุ้นระยะยาว ก่อนจะก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นก็ต้องเริ่มจากขั้นตอนต่อไปนี้
1. เปิดบัญชีหุ้น
การจะเล่นหุ้นได้ ขั้นแรกต้องเปิดบัญชีหุ้นเสียก่อน โดยยื่นเอกสารสมัครได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ หรือที่นักลงทุนเรียกว่า "โบรกเกอร์" (Broker) ซึ่งมีอยู่หลายบริษัทให้เลือก (ตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมดได้ที่นี่)
แต่ถ้าใครมีบัญชีเงินเดือนอยู่ธนาคารไหน สามารถเข้าไปสมัครที่ธนาคารสาขาต่าง ๆ ได้เลย แล้วธนาคารจะส่งเรื่องต่อไปยังบริษัทหลักทรัพย์ของตนเองอีกที เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ของธนาคารกรุงเทพ, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ของธนาคารกรุงศรีฯ
นอกจากนี้ บางธนาคารยังสามารถสมัครทางออนไลน์ได้เลย เช่น บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของธนาคารกสิกรไทย ฯลฯ ที่แค่กรอกข้อมูลและส่งเอกสารผ่านทางออนไลน์ก็สามารถเปิดบัญชีได้ โดยไม่ต้องไปสมัครถึงธนาคาร
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการสมัคร ทั่ว ๆ ไปก็คือ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาใบแจ้งรายการบัญชีผ่านธนาคาร หรือสำเนาสมุดคู่ฝากบัญชีออมทรัพย์ย้อนหลัง 6 เดือน
ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
อย่างไรก็ตาม ควรติดต่อสอบถามจากบริษัทหลักทรัพย์ที่คุณจะสมัครอีกครั้ง เพราะแต่ละแห่งเรียกขอเอกสารไม่เหมือนกัน และที่ต้องรู้อีกข้อก็คือ ผู้ที่จะเปิดบัญชีหุ้นได้ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเท่านั้น ถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
2. เลือกให้ดีจะเปิดบัญชีแบบไหน
ในการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นนั้น เราต้องเลือกด้วยว่าจะเปิดบัญชีแบบบัญชีเงินสด (Cash Account), บัญชีเงินฝาก (Cash Balance) หรือบัญชีเงินกู้ยืม (Credit Balance Account) ซึ่งแต่ละบัญชีแตกต่างกันตามนี้
จากข้อมูลข้างต้น มือใหม่ควรเปิดบัญชีแบบ บัญชีเงินฝาก (Cash Balance) มากที่สุด เพราะเราจะต้องโอนเงินเข้าบัญชีก่อน จึงจะซื้อหุ้นได้ในวงเงินที่เรากำหนดไว้เอง วิธีนี้จะช่วยให้เราไม่ซื้อหุ้นเกินวงเงินของตัวเอง ส่วนบัญชีเงินกู้ยืม (Credit Balance Account) นั้นไม่แนะนำ เพราะมือใหม่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในตลาดหุ้น เสี่ยงต่อการเป็นหนี้สูงมาก
3. ศึกษาโปรแกรม Streaming Pro สำหรับเล่นหุ้น
เมื่อได้รับอนุมัติเปิดบัญชีแล้ว เราจะได้เลขที่บัญชี และรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าไปในหน้าเว็บของโบรกเกอร์ เมื่อเข้าไปแล้วเราจะรู้จักกับโปรแกรมที่ชื่อว่า Streaming Pro ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้เราใช้ส่งคำสั่งซื้อขายเรียลไทม์ สามารถใช้เองได้ไม่ยากเลย
4. ทำความเข้าใจคำศัพท์สำคัญในโปรแกรม Streaming Pro
ในโปรแกรมจะมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่หลายตัว แต่ศัพท์สำคัญที่เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นก็คือ
Market จะเป็นส่วนแสดงข้อมูลภาพรวมของตลาดแบบเรียลไทม์
Portfolio ส่วนแสดงพอร์ตการลงทุนของเรา ว่าได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
Account No. คือ หมายเลขบัญชีของเรา
Credit Line คือ วงเงินอนุมัติจากทางบริษัท เราจะสามารถซื้อหุ้นได้ไม่เกินมูลค่า Credit ที่ปรากฏ
Line Available คือ อำนาจซื้อที่แท้จริง ณ ขณะนั้น ๆ หมายถึงเราสามารถซื้อหุ้นได้เพิ่มเติมอีกไม่เกินมูลค่า Line ที่ปรากฏ เช่น หากโอนเงินเข้าบัญชี 10,000 บาท มูลค่า Line ตั้งต้นจะเท่ากับ 10,000 บาท เมื่อเราสั่งซื้อหุ้นไป 3,000 บาท มูลค่า Line จะถูกหักออก 3,000 บาท เท่ากับเรามีอำนาจซื้อเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 7,000 บาท
Cash คือ มูลค่าเงินสดที่อยู่ในบัญชีของเรา ณ ขณะนั้น ซึ่งมูลค่านี้จะไม่อัพเดทแบบเรียลไทม์ เพราะกระบวนการชำระราคาในการซื้อขายหุ้นจะใช้เวลา 3 วันหลังการซื้อขาย (T+3) ดังนั้น หากซื้อหุ้นวันนี้ 20,000 บาท มูลค่า Cash จะยังไม่ปรับลดลงทันที แต่จะลดลงในวันที่ 3 หลังวันทำการ (T+3)
ทั้งนี้ หากต้องการถอนเงินจากบัญชีหุ้น โดยโอนกลับเข้าบัญชีเงินเดือน ต้องรอให้ช่อง Cash อัพเดทเท่ากับ Line Available เสียก่อน จึงจะทำการถอนตามจำนวนที่ขายหุ้นออกไปได้ และเพื่อความสะดวกในช่วงเริ่มต้น แนะนำให้ใช้ บลจ.ธนาคารเดียวกับบัญชีเงินเดือนของคุณ จะสามารถระบุให้โอนเข้าบัญชีออนไลน์ได้ทันที
T+3 คือ วันทำการที่ 3 นับจากวันซื้อขายหลักทรัพย์ โดยไม่นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดของสถาบันการเงินตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น หากซื้อหุ้นวันศุกร์ ให้นับไปอีก 3 วันทำการ เงินจะตัดจากบัญชีในวันพุธ เช่นเดียวกับการขายหุ้น เงินจะเข้าบัญชีในอีก 3 วันทำการเช่นกัน
ทั้งนี้ หากเป็น T+1, T+2 หรือตัวเลขอื่น ๆ ที่มักใช้ในการซื้อขายกองทุน ตัวเลขด้านหลังก็คือกี่วันทำการนั้น ๆ เหมือนกับ T+3
Volume คือ ปริมาณของหุ้นที่ซื้อขาย หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ จำนวนหุ้นที่ซื้อขายกันในวันนั้น
Value คือ มูลค่าการซื้อขายของหุ้น หรือ ในวันนั้นมีการซื้อขายเป็นเงินเท่าไร
Buy คือ ต้องการซื้อหุ้นเข้า Port ของเรา
Sell คือ ต้องการขายหุ้นของเราออกไป
Opened หรือ Queuing (SX) คือ คำสั่งซื้อขายที่รอการจับคู่ หรือมีการจับคู่ได้บางส่วนแต่ยังจับคู่ได้ไม่หมด
Matched คือ คำสั่งซื้อขายได้รับการจับคู่แล้ว
Approved คือ คำสั่งซื้อขายที่ไม่อนุมัติ อาจเกิดจากจำนวนเงินไม่เพียงพอในการซื้อขาย
Bid คือ ราคาเสนอซื้อเข้ามาสูงสุด ณ ขณะนั้น
Offer คือ ราคาเสนอขายเข้ามาสูงสุด ณ ขณะนั้น
3. ศึกษาโปรแกรม Streaming Pro สำหรับเล่นหุ้น
เมื่อได้รับอนุมัติเปิดบัญชีแล้ว เราจะได้เลขที่บัญชี และรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าไปในหน้าเว็บของโบรกเกอร์ เมื่อเข้าไปแล้วเราจะรู้จักกับโปรแกรมที่ชื่อว่า Streaming Pro ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้เราใช้ส่งคำสั่งซื้อขายเรียลไทม์ สามารถใช้เองได้ไม่ยากเลย
4. ทำความเข้าใจคำศัพท์สำคัญในโปรแกรม Streaming Pro
ในโปรแกรมจะมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่หลายตัว แต่ศัพท์สำคัญที่เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นก็คือ
Market จะเป็นส่วนแสดงข้อมูลภาพรวมของตลาดแบบเรียลไทม์
Portfolio ส่วนแสดงพอร์ตการลงทุนของเรา ว่าได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
Account No. คือ หมายเลขบัญชีของเรา
Credit Line คือ วงเงินอนุมัติจากทางบริษัท เราจะสามารถซื้อหุ้นได้ไม่เกินมูลค่า Credit ที่ปรากฏ
Line Available คือ อำนาจซื้อที่แท้จริง ณ ขณะนั้น ๆ หมายถึงเราสามารถซื้อหุ้นได้เพิ่มเติมอีกไม่เกินมูลค่า Line ที่ปรากฏ เช่น หากโอนเงินเข้าบัญชี 10,000 บาท มูลค่า Line ตั้งต้นจะเท่ากับ 10,000 บาท เมื่อเราสั่งซื้อหุ้นไป 3,000 บาท มูลค่า Line จะถูกหักออก 3,000 บาท เท่ากับเรามีอำนาจซื้อเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 7,000 บาท
Cash คือ มูลค่าเงินสดที่อยู่ในบัญชีของเรา ณ ขณะนั้น ซึ่งมูลค่านี้จะไม่อัพเดทแบบเรียลไทม์ เพราะกระบวนการชำระราคาในการซื้อขายหุ้นจะใช้เวลา 3 วันหลังการซื้อขาย (T+3) ดังนั้น หากซื้อหุ้นวันนี้ 20,000 บาท มูลค่า Cash จะยังไม่ปรับลดลงทันที แต่จะลดลงในวันที่ 3 หลังวันทำการ (T+3)
ทั้งนี้ หากต้องการถอนเงินจากบัญชีหุ้น โดยโอนกลับเข้าบัญชีเงินเดือน ต้องรอให้ช่อง Cash อัพเดทเท่ากับ Line Available เสียก่อน จึงจะทำการถอนตามจำนวนที่ขายหุ้นออกไปได้ และเพื่อความสะดวกในช่วงเริ่มต้น แนะนำให้ใช้ บลจ.ธนาคารเดียวกับบัญชีเงินเดือนของคุณ จะสามารถระบุให้โอนเข้าบัญชีออนไลน์ได้ทันที
T+3 คือ วันทำการที่ 3 นับจากวันซื้อขายหลักทรัพย์ โดยไม่นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดของสถาบันการเงินตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น หากซื้อหุ้นวันศุกร์ ให้นับไปอีก 3 วันทำการ เงินจะตัดจากบัญชีในวันพุธ เช่นเดียวกับการขายหุ้น เงินจะเข้าบัญชีในอีก 3 วันทำการเช่นกัน
ทั้งนี้ หากเป็น T+1, T+2 หรือตัวเลขอื่น ๆ ที่มักใช้ในการซื้อขายกองทุน ตัวเลขด้านหลังก็คือกี่วันทำการนั้น ๆ เหมือนกับ T+3
Volume คือ ปริมาณของหุ้นที่ซื้อขาย หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ จำนวนหุ้นที่ซื้อขายกันในวันนั้น
Value คือ มูลค่าการซื้อขายของหุ้น หรือ ในวันนั้นมีการซื้อขายเป็นเงินเท่าไร
Buy คือ ต้องการซื้อหุ้นเข้า Port ของเรา
Sell คือ ต้องการขายหุ้นของเราออกไป
Opened หรือ Queuing (SX) คือ คำสั่งซื้อขายที่รอการจับคู่ หรือมีการจับคู่ได้บางส่วนแต่ยังจับคู่ได้ไม่หมด
Matched คือ คำสั่งซื้อขายได้รับการจับคู่แล้ว
Approved คือ คำสั่งซื้อขายที่ไม่อนุมัติ อาจเกิดจากจำนวนเงินไม่เพียงพอในการซื้อขาย
Bid คือ ราคาเสนอซื้อเข้ามาสูงสุด ณ ขณะนั้น
Offer คือ ราคาเสนอขายเข้ามาสูงสุด ณ ขณะนั้น
เพื่อให้เข้าใจคำว่า Bid และ Offer ลองมาดูตัวอย่างกัน
หุ้น KTB (ธนาคารกรุงไทย)
Bid คือราคาที่เสนอซื้อเข้ามาสูงสุด ณ ขณะนั้น โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 22.00 บาท มีคนรอซื้อราคา อยู่จำนวน 2,236,700 หุ้น (ตรงช่อง Volume) ส่วนคนที่รอซื้อราคา 21.90 บาท มีอยู่ 5,207,900 หุ้น
หากเราต้องการซื้อหุ้น KTB ที่ราคา 22.00 บาท เมื่อเราเคาะราคาไป เราจะยังไม่ได้หุ้นในทันที เราต้องรอให้คนที่เสนอซื้อ 2,236,700 หุ้นก่อนหน้าเรา ซื้อได้หมดก่อน จึงจะถึงคิวของเรา
* ข้อสังเกต เมื่อส่งคำสั่งซื้อ จะมีคำว่า Queuing ในขั้นตอนนี้หากส่งคำสั่งผิด สามารถ Can cell ได้ แต่หากมีคำว่า Match แล้วแสดงว่าคุณได้หุ้นตัวนั้นเรียบร้อยแล้ว ยกเลิกไม่ได้
ส่วน Offer ราคาเสนอขายที่สูงสุด ณ ขณะนั้น อยู่ที่ 22.10 บาท มีคนรอขายจำนวน 8,532,700 หุ้น ส่วนราคา 22.20 บาท จำนวน 9,395,000 หุ้น ไล่เรียงกันไป
ทั้งนี้ หากเราไม่อยากรอคิวซื้อที่ราคา 22.00 บาท เราอาจจะเสนอซื้อที่ราคา 22.10 บาท ซึ่งจะทำให้เราได้หุ้นทันที เพราะมีคนเสนอขายเราที่ราคา 22.10 บาทอยู่แล้ว จำนวน 8,532,700 หุ้น
สำหรับตัวหนังสือที่เป็นสีต่าง ๆ นั้นคือ
สีเขียว แสดงว่าราคานั้นสูงกว่าราคาหุ้นที่ปิดตลาดเมื่อวาน
สีแดง แสดงว่าราคานั้นต่ำกว่าราคาหุ้นที่ปิดตลาดเมื่อวาน
สีเหลือง แสดงว่าราคานั้นเท่ากับราคาหุ้นที่ปิดตลาดเมื่อวาน
ในที่นี้ หุ้น KTB ณ ขณะนี้ราคา 22.00 บาท บวกเพิ่มจากราคาปิดเมื่อวาน 0.20 บาท แสดงว่าเมื่อวานราคาปิดอยู่ที่ 21.80 บาท Volume คือ ปริมาณการซื้อขายในขณะนี้ อยู่ที่ 50,353,400 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า (Value) 1,109,668 ล้านบาท
5. โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อเตรียมซื้อหุ้น
สำหรับมือใหม่ อาจทดลองเล่นหุ้นด้วยเงินจำนวนไม่มากก่อน ซึ่งขั้นต่ำเพียง 5,000 บาท ก็สามารถเล่นหุ้นได้ (โปรดตรวจสอบกับแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ที่คุณสมัครก่อนอีกครั้ง ซึ่งเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "โบรกเกอร์")
จากนั้นทำตามขั้นตอนนี้
5.1 โอนเงินเข้าบัญชีโบรกเกอร์ (ตรวจสอบเลขที่บัญชีได้จากโบรกเกอร์ที่สมัครไว้)
5.2 เมื่อโอนเงินแล้วจะต้องแจ้งวันเวลาที่โอนเงิน จำนวนเงินที่โอนกับโบรกเกอร์ โดยสามารถโทรศัพท์แจ้งกับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์) ของโบรกเกอร์นั้น หรือแจ้งทางระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้ (ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละโบรกเกอร์เอง)
5.3 ตรวจสอบยอดเงินในโปรแกรม Streaming Pro ว่ายอดเงินตรงกับที่เราโอนเข้าไปหรือไม่
6. ทดลองซื้อขายหุ้น
ถ้าเราคิดว่าตัวเองพร้อมแล้ว อยากลองเสี่ยงดู ก็เริ่มซื้อขายหุ้นได้เลย โดยอาจเลือกซื้อขายหุ้นในราคาต่ำ ๆ เช่น 1-5 บาท และปริมาณน้อย ๆ ก่อน โดยขั้นต่ำของการซื้อหุ้นแต่ละครั้งคือ 100 หุ้น เพื่อทดลองลงทุนดู แต่ถ้าใครยังกลัว ๆ ไม่กล้าเสี่ยง ก็ควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ หาความรู้ก่อนลงทุนจริง
และนี่ก็คือภาพรวมของการเล่นหุ้น ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด ขั้นต่อไปก็ถึงเวลาเติมความรู้ให้ตัวเองมากขึ้น ติดตามข่าวสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่อาจมากระทบต่อตลาดหุ้นในบ้านเราได้ นอกจากนี้ มือใหม่ก็ควรลองฟังข้อมูลการวิเคราะห์ของสถาบันต่าง ๆ หรือคลิปวิธีเล่นหุ้นเบื้องต้น เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจซื้อขายทุกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น